cmyk กับ rgb แตกต่างกันอย่างไร แล้วงานประเภทไหนที่เราจะเลือกให้ Mode สี CMYK หรือ RGB เราจะมาหาคำตอบกันในวันนี้ มาทำความเข้าใจระบบสี CMYK กับ RGB ภายใน 3 นาที ระบบสี CMYK คืออะไร แล้วต่างจาก RGB อย่างไร แล้วงานประเภทไหนที่เราจะเลือกให้ Mode สี CMYK หรือ RGB เราจะมาหาคำตอบกันในวันนี้ จะขออธิบายสั้น ๆ ได้ยืดยาวแบบสรุป
- RGB เป็นสีที่ใช้ในการแสดงบนรูปภาพ และบนหน้าจอ เช่น เว็บไซต์ สื่อโฆษณาแบบออนไลน์ หรืออีเมล์ทางการตลาด โดยสรุปง่าย ๆ คืองานที่ใช้แสงดผลบนหน้าจอ โดยไม่ต้องการพิมพ์ออกมา
- CMYK ได้ถูกใช้ในด้านการพิมพ์ เช่น พิมพ์หนังสือ นิตยสาร โปรเตอร์ แผ่นพับ กล่อง บรรจุภัณฑ์ต่าง ๆ หรืองานไวนิลทั่วไป
1. ระบบสี CMYK
เราอาจจะอยากรู้ว่าสี CMYK คืออะไร แล้วนำมาใช้ในงานรูปแบบไหนบ้าง นักออกแบบ Graphic หลายคนถ้าไม่เข้าใจในระบบสี อาจจะตกม้าตายตอนส่งงานให้ลูกค้าก็ได้ โดยระบบสี CMYK เป็นระบบสีที่ใช้ในอุสาหกรรมการพิมพ์เป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็น พิมพ์หนังสือ นิตยสาร โปรเตอร์ แผ่นพับ กล่อง บรรจุภัณฑ์ต่าง ๆ หรืองานไวนิลทั่วไป ก็ใช้ระบบสีแบบ CMYK ซึ่งบทความนี้จะมีอธิบายให้เข้าใจกับระบบสี CMYK กับ RGB ต่างกันอย่างไร
CMYK ย่อมาจาก
- Cyan (ฟ้า)
- Magenta (แดงอมม่วง)
- Yellow (เหลือง)
- Key (สีดำ ไม่ได้ใช้ B Black นะ)
อย่างที่ได้อธิบายไปตอนต้นระบบสี CMYK นั้นเหมาะสำหรับงานพิมพ์ หรือเข้าใจง่าย ๆ ว่า งานที่อย่างที่ต้องพิมพ์ออกมาเราจะใช้ระบบสีเป็น CMYK
CMYK เป็นการพิมพ์โดยการนำสีทั้ง 4 สี มารวมกันแล้วเกินภาพต้นฉบับที่เราต้องการ ระบบการพิมพ์ 4 สีเป็นระบบที่นิยมใช้กันมากโดยทั่วไป ทั้ง งานโปรเตอร์ แผ่นพับ หรืองานไวนิล แต่งานหนังสือบางครั้งก็จะพิมพ์ 4 สี แค่ปกหนังสือเนื้อในนั้น จะพิมพ์เพียงแค่สีดำ หรือ พิมพ์ 2 สีเป็นอีก 1 สีที่ผสมระหว่าง K บวกกับอีก 1 สี (CMY) นั้นเอง
การกำหนดค่าสีในงานที่จะทำการส่งโรงพิมพ์ เราจะเรื่องจากค่าสี CMKY เท่านั้น เพราะถ้าเราเลือกค่าจาก RGB ที่เป็น #CCC สีที่ออกมานั้นจะผิดเพียนไปจากหน้าจอที่เราเห็น เราจึงต้องกำหนดแบบ CMYK เช่น C = 100 M = 0 Y = 100 K = 0 เราก็จะได้ค่าสีที่แน่นอนสำหรับงานพิมพ์ การกำหนดสีของ CMYK กำหนดได้แต่ละสี คือ 0-100
หรือบางครั้งเราก็ต้องใช้รหัสสีตัวอย่างจาก Chart สี เพื่อความเที่ยงตรงของสีที่จะพิมพ์ออกมา
โดยกระบวนการพิมพ์สี CMYK จะเป็นการให้กระดาษวิ่งผ่านแท่นพิมพ์แต่ละสีเรียงตามกันมา
สีจะไหลลงมาติดกับแผ่นสังกระสี ที่ศัพท์ทางโรงพิมพ์ เรียกว่า เพจ และติดกับลูกยางในเครื่องพิมพ์ จากนั้นกระดาษก็จะวิ่งผ่านเกิดรอยพิมพ์แต่ละสีออกมาด้วยความเร็วทั้ง CMYK ก็จะเกิดสีตามที่เราต้องการ (หรือศัพท์ทางโรงพิมพ์เรียกว่า พิมพ์ 4 สี หากพิมพ์ 1 สี ก็จะผ่านเพียงแท่นดียว หรือ 2 สีก็จะผ่านเพียง 2 แท่น แต่ละแท่นคือจำนวนสีนั่นเอง)
หากเมื่อใดที่เราต้องการสร้างไฟล์งานสิ่งพิมพ์ เพื่อส่งโรงพิมพ์ เราต้องมั่นใจว่าไฟล์งานของเรา เป็นไฟล์งานที่ใช้งาน mode CMYK ซึ่งโปรแกรมที่นักออกแบบงานนิยมใช้กันมาก คือ Adobe Photoshop Adobe Illustrator หรือ Adobe InDesign
2. ระบบสี RGB
ระบบสี RGB เป็นระบบสีที่เราคุ้ยเคยกันมามากกว่าระบบสีแบบ CMYK ซึ่งเราพบเห็นได้บ่อยในงาน เช่น เว็บไซต์ สื่อโฆษณาแบบออนไลน์ หรืออีเมล์ทางการตลาด โดยสรุปง่าย ๆ คืองานที่ใช้แสงดผลบนหน้าจอ โดยไม่ต้องการพิมพ์ออกมา สำหรับ Graphic ก็จะต้องรู้ก่อนเป็นอันดับแรกว่างานที่เราทำนั้นจะนำไปใช้รูปแบบไหนเพื่อกำหนดระบบสี โดยการกำหนดค่าสี RGB นั้นมีความกว้างของสีมากกว่าระบบสีแบบ CMYK สามารถเลือกได้ถึง 2-16 ล้านสี (https://th.wikipedia.org) ซึ่งจะมีสีที่ผสมกันทั้งหมด 3 สี โดยชื่อเรียก
ระบบสี RGB นั้นย่อมาจาก
- Red (สีแดง)
- Green (สีแดง)
- Blue (สีน้ำเงิน)
การกำหนดค่าสีนั้นจะกำหนดได้ตั้งแต่ 0-255 (CMYK 0-100) เช่น R = 0 G = 174 B = 239 หรือ Code สีที่เราคุ้นชินกันที่ขึ้นต้นด้วยเครื่องหมาย # นั้นเอง #00aeef
แต่สำหรับคนที่ต้องการจับคู่สีแบบ RGB ให้ match กับงานที่ออกแบบสามารถใช้เว็บจับคู่สีช่วยมาช่วยได้ 10 เว็บไซต์ จับคู่สี ออกแบบงานได้สวยทันตา